วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

10 ข้อเกี่ยวกับอาชีพสถาปนิก

10 ข้อเกี่ยวกับอาชีพสถาปนิก



1.สถาปนิกคืออะไร

สถาปนิก คือ บุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานในสาขาวิชาชีพอื่น





2.สถานที่ทำงาน

ต้องทำงานทั้งในสำนักงาน การออกพื้นที่จริงเพื่อสำรวจสถานที่ทั้งก่อนก่อสร้างและขณะกำลังก่อสร้าง การทำงานอาจทำเป็นช่วงในตลอด 24 ชั่วโมง เมื่องานการก่อสร้างต้องเร่งระยะการทำงานอาจยาวนานแล้วแต่ขนาดของอาคาร สถานที่ เป็นอาชีพที่ไม่มีผลัดการทำงานเพราะสถาปนิกผู้ออกแบบนั้นจะต้องทำหน้าที่รับผิดชอบร่วมกับวิศวกรผู้ทำงานร่วมกัน อาชีพสถาปนิกเป็นอาชีพที่สามารถใช้ความสามารถเฉพาะตัว ในการประกอบอาชีพได้ ทำให้สามารถทำงานส่วนตัว หรือ ทำงานในสำนักงานออกแบบ โดย บัณฑิต ส่วนใหญ่ที่มีจุดมุ่งหมาย ในการเป็นนักออกแบบ มักนิยม เข้าทำงานในสำนักงานออกแบบ เพื่อเรียนรู้ระบบการทำงาน และมีความก้าวหน้า ตามประสบการณ์




3.สภาพการทำงาน 

สถาปนิกคือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร   เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานในสาขาวิชาชีพอื่น กำหนดระยะเวลาทำงานขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของอาคาร สิ่งก่อสร้าง ตามที่ผู้จ้างต้องการต้องทำงานให้เสร็จทันเวลาเพราะมีโทษปรับถ้าการก่อสร้างเสร็จไม่ทันตามกำหนดเวลา



4.ประเภทของลูกค้า

1.) ขนาดขององค์กรของเราว่ามีขนาดใหญ่หรือเล็ก ถ้าขนาดใหญ่ ก็จะได้รับมอบหมายในงานที่ใหญ่ ๆ ลูกค้าก็จะเป็น  เจ้าของโรงแรม เจ้าของโรงพยาบาล เจ้าของตึกสำนักงานต่างๆ ซึ่งบริษัทต้องมีความน่าเชื่อถือมากเพียงพอ เพราะการทำงานของสถาปนิกคือการออกแบบโครงสร้างภายใน ซึ่งถ้าไม่มีความน่าเชื่อถือก็จะส่งผลไปถึงความแข็งแรงของสิ่งก่อสร้าง ซึ่งอาจเกิดอันตรายและความเสียหายตามมา ส่วนบริษัทสถาปนิกองคกรเล็กๆ งานที่ได้ทำก็จะมีขนาดที่เล็ตามลงมา ลูกค้า อาจจะเป็นเจ้าของธุรกิจที่กำลังจะเปิดร้าน การออกแบบบ้าน ตึกอาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก ร้านอาหารเป็นต้น 

2.) ลูกค้าเลือกจ้างจากความถนัด และ สไตล์งานเป็นหลัก ซึ่งก็เป็นสิ่งที่สำคัญในการตัดสินใจเลือก เพราะถ้าสไตล์งานตรงตามที่ต้องการแล้วนั้น ก็จะสามารถทำงานด้วยกันง่าย มองเห็นภาพเดียวกัน
3.) ในบางครั้งลูกค้ามาจากการบอกปากต่อปาก ถ้าการทำงานของเรามีคุณภาพ ลูกค้าติดใจก็จะมีการบอกต่อถึงคุณภาพงาน เพราะฉะนั้นเราควรรักษามาตรฐานของเราเอาไว้ให้ดีอยู่เสมอ 





5.เป้าหมายของงาน / โจทย์ใหญ่ของงาน /ความท้าทายของงาน

       งานสถาปนิกคือ การออกแบบอาคารประเภทต่างๆให้สวยงาม และสอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ กฎหมาย ประยุกต์ใช้ความรู้ ความสามารถ ทั้งทางศิลปะและเทคนิค โดยคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยและประหยัด ทั้งในด้านราคาค่าก่อสร้างและพลังงานสนองความต้องการของผู้อาศัย และผู้ใช้อาคาร สถาปนิกจะเป็นผู้ออกแบบ ต้องทำงานตามขั้นตอนและกำหนดเวลาชิ้นผลงานต่างๆ ร่วมกับวิศวกรก่อสร้างและนักเขียนแบบ ซึ่งงานทุกงานที่ได้รับมีความท้าทายและโจทย์ที่ต้องแก้ไขแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่างานนั้นจะเป็นอะไร เป้าหมายคือทำงานชิ้นนั้นให้สำเร็จลุล่วงตั้งแต่ขั้นตอนแรกยันขั้นตอนสุดท้ายที่เรารับผิดชอบ



6.Work process 

ขั้นตอนการให้บริการวิชาชีพของสถาปนิก โดยสถาปนิกจะทำการบริการวิชาชีพตามขั้นตอนต่อไปนี้
1.  ) บันทึกรายละเอียดความต้องการของลูกค้า เพื่อออกแบบให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า
2.  ) ออกแบบเบื้องต้น (Schematic Design) ออกแบบ คำนวณแบบ เลือกวัสดุที่มีคุณภาพเหมาะสมและให้ประโยชน์สูงสุดกับลูกค้า
3.  ) ออกแบบรายละเอียด (Design Development หรือ DD)
4.  ) คำนวณรายการใช้จ่ายให้เหมาะสมกับเนื้องาน
5.  ) ทำแบบก่อสร้าง (Construction Document)  เตรียมแบบ และส่งแบบที่วาดโดยช่างเขียนแบบให้ลูกค้าพิจารณา เพื่อดัดแปลงแก้ไขและตอบข้อซักถามของลูกค้าร่วมกับวิศวกร
6.  ) เมื่อแก้ไขดัดแปลงให้สมบูรณ์แล้ว จึงส่งแบบให้กับวิศวกรทำการก่อสร้าง.        
7.  ) ออกปฏิบัติงานร่วมกับวิศวกรระหว่างทำการก่อสร้าง เพื่อให้ใช้วัสดุตามแบบที่วางไว้ตามเงื่อนไขสัญญา
8.  )ให้คำปรึกษาต่อวิศวกรและแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้างและการคำนวณของวิศวกร
9.  )การประมูลและเจรจาต่อรอง (Bidding and Negotiation)
10.    ) บริหารงานก่อสร้าง (Construction Administration) อาจวางแผนและควบคุมงานที่สถาปนิกจะได้รับทำเป็นประจำตลอดปี คือ งานปรับปรุง ดัดแปลง แก้ไข ตัวอาคารเพื่อความทันสมัยสวยงามและปลอดภัยอยู่เสมอสถาปนิกอาจมีความชำนาญในอาคารบางชนิดเป็นพิเศษ เช่น การออกแบบการใช้อาคารในพื้นที่แคบ เป็นต้น




7.ความก้าวหน้าของสายอาชีพ 

อนาคตความก้าวหน้าของคนที่ประกอบอาชีพนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และ ความชำนาญในงานเป็นสำคัญโดยมีหลักประกันอยู่ที่ฝีมือและผลงาน ผู้ที่ทำงานใน ภาครัฐจะได้รับการเลื่อนขั้นตามความสามารถถ้าได้รับการศึกษาต่อหรืออบรมหลักสูตรต่างๆเพิ่มเติมอาจได้เป็นผู้อำนวยการของหน่วยเองที่สังกัดอยู่ ในภาคเอกชน อาจได้เป็นผู้จัดการหรือผู้ดูแลโครงการก่อสร้างหรือเป็นเจ้าของกิจการก็ได้




8. บุคลิก นิสัยของคนที่เหมาะจะทำอาชีพนี้ 

        สถาปนิกเป็นอีกอาชีพที่ต้องมีความรับผิดชอบสูงมาก ในชีวิตจริงมันไม่ได้สวยงามอย่างในละคร คนกลุ่มนี้ไม่ได้แค่มีหน้าที่ออกแบบอาคารคุมงานก่อสร้างให้ได้ดังที่ลูกค้าต้องการ แต่สิ่งที่เราออกแบบไปนั้นคือความรับผิดชอบของเรา หากมีสิ่งผิดพลาดเกิดขึ้นในอนาคตคนที่จะโดนฟ้องคนแรกก็คือสถาปนิกนี่แหละ ดังนั้น นอกจากความคิดสร้างสรรค์ ทักษะพื้นฐานทางสถาปัตยกรรม ความรอบคอบ และความรับผิดชอบ ถือเป็นคุณสมบัติที่สำคัญมาก


9. ผลตอบแทน

สถาปนิกที่รับราชการจะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา สถาปนิกที่ทำงานกับภาคเอกชนจะได้รับเงินเดือนขึ้นอยู่กับฝีมือและประสบการณ์  ได้รับสวัสดิการตามกฎหมายแรงงานกำหนดไว้ และสิทธิประโยชน์อื่น เช่น โบนัสขึ้นอยู่กับผลประกอบการ และ รายได้ของสถาปนิกมักจะขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ตำแหน่งของสถาปนิกที่ทำงานใน สำนักงานสถาปนิก หรือ องค์กรที่มีฝ่ายสถาปัตยกรรม  มีดังนี้
  ·    ผู้ช่วยสถาปนิก : Architect Assistant
  ·    สถาปนิก ผู้น้อย : Junior Architect 
  ·    สถาปนิก : Architect 
  ·    สถาปนิก อาวุโส : Senior Architect
  ·    ผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบ : Design Director , Architect Director




10.คุณค่าของอาชีพนี้ต่อคนรอบข้างและสังคม 

"สุข" ในสัมมาอาชีพของเรา คือ การให้บริการวางแผน-ออกแบบที่ " SO OK "  ซึ่งในวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมสาขาต่างๆ ตั้งแต่ การวางแผนเมืองและสภาพแวดล้อม การอนุรักษ์ชุมชนและสถาปัตยกรรม การออกแบบชุมชนเมือง (สถาปัตยกรรมผังเมือง) สถาปัตยกรรมหลัก ภูมิสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมภายในและการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งรวมทุกอย่างที่จำเป็นในสังคมเอาไว้ หากขาดอาชีพสถาปนิกไปโครงสร้างของเมือง หรือ ประเทศอาจจะยุ่งเหยิงน่าดู เพราะฉะนั้นถือว่าเป็นอาชีพที่สำคัญและขาดไม่ได้ และน้องๆที่เลือกที่จะมาเรียนแล้วต้องตั้งใจเรียนให้มาก และ นำความรู้ที่เราเรียนมา มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติต่อไป 



ข้อแถม ทักษะ ความรู้ ความสามารถ
สถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นการศึกษาสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานเทคนิควิทยาการทั้งทางวิทยาศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม เข้าด้วยกัน เพื่อตอบสนองความต้องการในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ในด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่อาศัย วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่นั้น สนองตอบในเชิงจิตวิทยา ซึ่งผู้ออกแบบต้องเข้าใจความต้องการในการใช้พื้นที่นั้น ๆ อย่างลึกซึ้งอันมีผลกับการออกแบบที่ดี และไม่ดี หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นศิลปวิทยาการ ในการออกแบบอาคารและสิ่งเกี่ยวเนื่อง เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพให้เหมาะสมในการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยครอบคลุมตั้งแต่ระดับมหัพภาค ถึงจุลภาค เช่น การวางผังชุมชน การออกแบบชุมชน ภูมิสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรูปแบบศิลปะ เรื่องของชุมชน เรื่องของพฤติกรรมมนุษย์ และเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย ถือเป็นศาสตร์ที่มีศาสตร์อื่นมาเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก จนยากที่จะสรุปลงไปได้ว่ามี ศาสตร์สาขาใดมาเกี่ยวข้องบ้าง


ที่มา : http://www.a-chieve.org/information/detail/10140

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น